May - 2023
Mo Tu We Th Fr Sa Su
1 2 3 4 5 6 7
8 9 10 11 12 13 14
15 16 17 18 19 20 21
22 23 24 25 26 27 28
29 30 31 1 2 3 4
5 6 7 8 9 10 11
 
 
นโยบาย
ยุทธศาสตร์การพัฒนา
วิสัยทัศน์
แผนอัตรากำลัง
โครงงานและแผนงาน
รายได้และงบประมาณ
แผนพัฒนาท้องถิ่น
 

ยุทธศาสตร์ขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองปากโลง
   1. วิสัยทัศน์
    วิสัยทัศน์การพัฒนาท้องถิ่น  (VISION)
          วิสัยทัศน์ในการพัฒนาเป็นผลลัพธ์สูงสุดในการพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองปากโลงในอนาคต ข้างหน้ามุ่งเน้นไปในทิศทางที่จะทำให้บรรลุผลลัพธ์ที่ตั้งไว้  จึงได้กำหนดวิสัยทัศน์ในการพัฒนาไว้ดังนี้
“จัดบริการสาธารณะ บริหารจัดการที่ดี พัฒนาสังคมวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม
 เพื่อการพัฒนาพร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลง
    2 ยุทธศาสตร์
ó ยุทธศาสตร์ที่  1          ด้านการพัฒนาระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ โครงสร้างพื้นฐาน และบริการสาธารณะ
แนวทางการพัฒนา        1) จัดหาบริการพื้นฐานที่จำเป็นการการดำรงชีวิต และความเป็นอยู่ ของประชาชน เช่น ถนน ไฟฟ้า ประปา การระบายน้ำ เป็นต้น โดยให้สอดคล้องกับผังเมืองรวมที่กำหนดไว้
                                    2) ปรับปรุงซ่อมแซมระบบบริการพื้นฐานที่จำเป็น เช่น ถนน ไฟฟ้า ประปา การระบายน้ำ เป็นต้น โดยให้สอดคล้องกับผังเมืองรวม ที่กำหนดไว้
                                   3) พัฒนาแหล่งน้ำคูคลองและระบบชลประทาน เพื่อการอุปโภค- บริโภค การเกษตร และอื่นๆ


ó ยุทธศาสตร์ที่  2          ด้านการพัฒนาการวางแผนบริหารจัดการองค์กร ตลอดจน ส่งเสริมอาชีพ  การพาณิชย์ และการท่องเที่ยวในท้องถิ่น
แนวทางการพัฒนา        1)  พัฒนาการบริหารจัดการ และการวางแผนพัฒนาในองค์กร เช่น ปรับปรุง/พัฒนาการจัดเก็บรายได้ การสนับสนุนการปฏิบัติงาน ปรับปรุง/พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เครื่องมือเครื่องใช้ อาคารสถานที่ และอื่นๆ
                                    2) ส่งเสริมธรรมาภิบาล การป้องกันและปราบปรามการทุจรติ และประพฤติมิชอบในการปฏิบัติราชการ
                                    3) ส่งเสริมอาชีพ สร้างรายได้ การพาณิชย์ และการท่องเที่ยว ในท้องถิ่น

  ó ยุทธศาสตร์ที่  3          ด้านการพัฒนาการศึกษาส่งเสริมคุณภาพชีวิตและคุณค่า ทางสังคม
แนวทางการพัฒนา        1) พัฒนา ส่งเสริมระบบการศึกษาให้มีประสิทธิภาพ พร้อมรองรับ การเปลี่ยนแปลง
                                    2) พัฒนา ส่งเสริมคุณภาพชีวิตให้กับประชาชน กลุ่ม องค์กร ในชุมชน ตามแนวทางพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง
                                    3) ส่งเสริม สนับสนุนงานสวัสดิการสังคม และงานสังคมสงเคราะห์
                                    4) ส่งเสริม สนับสนุนกีฬา และนันทนาการ                      
                                    5) ส่งเสริม สนับสนุน งานสาธารณสุข


ó ยุทธศาสตร์ที่  4          ด้านการจัดระเบียบชุมชน สังคม และการรักษาความ สงบเรียบร้อย
แนวทางการพัฒนา        1) พัฒนาสร้างเสริมประชาธิปไตย และการมีส่วนร่วมของประชาชน
                                    2) เสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวและชุมชน
                                    3) การเฝ้าระวัง แก้ไข ป้องกัน ปัญหายาเสพติด
                                    4) ส่งเสริม สนับสนุนการดำเนินงานการป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัย


ó ยุทธศาสตร์ที่  5          ด้านการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น
แนวทางการพัฒนา        1) ส่งเสริมการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และงานรัฐพิธี
                                    2) สนับสนุน จัดตั้งภูมิปัญญาท้องถิ่น
                                    3) ส่งเสริม สนับสนุนการเผยแพร่ และการปฏิบัติด้านคุณธรรม จริยธรรม ศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น


ó ยุทธศาสตร์ที่  6          ด้านการพัฒนาการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม                
แนวทางการพัฒนา        1) พัฒนา ส่งเสริม สนับสนุน ดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม รวมทั้ง มลภาวะ
                                    2) การดูแลรักษา พัฒนาที่สาธารณะ
                                    3) บำรุงรักษาแม่น้ำลำคลอง แหล่งน้ำต่างๆ และการป้องกัน น้ำเน่าเสีย

   3 เป้าประสงค์
          องค์การบริหารส่วนตำบลหนองปากโลง ได้กำหนดเป้าประสงค์เพื่อการพัฒนาไว้ดังนี้
              1. ประชาชนได้รับการบริการด้านโครงสร้างพื้นฐาน สาธารณูปโภค สาธารณูปการ ระบบการบริหารจัดการ  และระบบการบริการอย่างเพียงพอ
              2. พัฒนากระบวนการบริหารจัดการและการปฏิบัติงานของท้องถิ่น ส่งเสริมให้เกิดการมีส่วนร่วมและความร่วมมือในการพัฒนาท้องถิ่น
              3. ส่งเสริมอาชีพให้แก่ประชาชน ให้มีความรู้ในการประกอบอาชีพ เป็นการเพิ่มรายได้ ส่งผลให้เศรษฐกิจในชุมชนมีความเข้มแข็ง รวมทั้ง ส่งเสริมให้เกษตรกรลดการใช้สารเคมี และส่งเสริมให้มีผลผลิตทางการเกษตรที่ปลอดสารพิษ เพื่อการบริโภค
              4. พัฒนาด้านการศึกษาให้มีประสิทธิภาพได้มาตรฐาน ประชาชนเกิดการเรียนรู้ เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น
              5. การพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยเอดส์ เด็ก สตรี และผู้ด้อยโอกาส
              6. การจัดการด้านสาธารณสุข กีฬา นันทนาการ สวัสดิการสังคม/การสังคมสงเคราะห์ มีประสิทธิภาพ
              7. ประชาชนมีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
              8. สร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน โดยประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนา และแก้ไขปัญหาชุมชนของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นรูปธรรม
              9. ส่งเสริม และอนุรักษ์ขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี วัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น
            10.  ประชาชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
    4 ตัวชี้วัด
               1. จำนวนโครงสร้างพื้นฐาน ระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ ระบบการบริหารจัดการ และระบบการบริการ ที่ได้มาตรฐานเพิ่มขึ้น อย่างน้อยละปี 2 โครงการ
               2. จำนวนโครงการ/กิจกรรมบุคลากรที่ได้รับการอบรมเพื่อพัฒนาในการปฏิบัติงานให้มีคุณภาพเพิ่มขึ้น        
               3. จำนวนโครงการ/กิจกรรมการพัฒนาอาคารสถานที่มีความเหมาะสมและอำนวยความสะดวกให้กับประชาชนที่มาติดต่อ  
               4. จำนวนประชาชนที่ได้รับการศึกษา การพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนที่ดีขึ้น
               5. จำนวนโครงการ/กิจกรรมที่ได้รับการส่งเสริม สนับสนุน ให้กับประชาชน กลุ่มอาชีพ มีอาชีพ มีรายได้เพิ่มขึ้น
               6. จำนวนประชาชนที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่น ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เพื่อสร้างชุมชนเข้มแข็ง
               7. จำนวนโครงการ/กิจกรรมที่เป็นการส่งเสริม พัฒนาคุณธรรม จริยธรรม อนุรักษ์จารีตประเพณี ศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น
               8.จำนวนโครงการ/กิจกรรมในการอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

    5 ค่าเป้าหมาย
               1. จัดให้มีโครงสร้างพื้นฐานในด้านต่างๆ เพื่อให้บริการประชาชน อย่างน้อยละปี 2 โครงการ
               2. จัดให้มีการฝึกอบรม เพื่อพัฒนาบุคลากรให้มีคุณภาพในการปฏิบัติงานมากขึ้น อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
               3. จัดให้มีการพัฒนาอาคารสถานที่มีความเหมาะสมและอำนวยความสะดวก ให้กับประชาชนที่มาติดต่ออย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
              4. จำนวนประชาชนที่ได้รับการศึกษาที่มีประสิทธิภาพได้มาตรฐาน ประชาชนเกิดการเรียนรู้ เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น  และมีคุณภาพชีวิตของประชาชนที่ดีขึ้น
               5.จำนวนประชาชนที่ได้รับการส่งเสริม สนับสนุน ให้มีการจัดตั้งกลุ่มอาชีพ มีอาชีพเสริม เพิ่มรายได้ 
               6. จำนวนผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยเอดส์ เด็ก สตรี ผู้ด้อยโอกาส และประชาชนโดยทั่วไป           ที่มีสิทธิลงทะเบียนกับองค์การบริหารส่วนตำบล เพื่อขอรับสิทธิได้รับบริการด้านสวัสดิการสังคม/การสังคมสงเคราะห์อย่างทั่วถึง ร้อยละ 100
               7. ประชาชนในเขตตำบลหนองปากโลง มีความรู้ และเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาด้านการท่องเที่ยว ด้านกีฬาและนันทนาการ ด้านคุณธรรมและจริยธรรม ด้านการอนุรักษ์จารีตประเพณี ศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น ร้อยละ 60 ของจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ
               8. ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการพัฒนา แก้ไขปัญหาในชุมชนของตน ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ของครัวเรือนทั้งหมด
               9. ประชาชนมีความพึงพอใจต่อดำเนินการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน ด้านสาธารณภัยต่างๆ ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์ ด้านการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติด ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ของครัวเรือนกลุ่มเป้าหมาย
             10. ประชาชนมีความพึงพอใจต้องการบริหารจัดการด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม    ร้อยละ 60 ของครัวเรือนทั้งหมด
    6 กลยุทธ์
          องค์การบริหารส่วนตำบลหนองปากโลง  ได้กำหนดกลยุทธ์เพื่อการพัฒนาไว้ดังนี้
               1. จัดหา ปรับปรุง ซ่อมแซมระบบบริการพื้นฐานที่จำเป็นการการดำรงชีวิต และความเป็นอยู่    ของประชาชน เช่น ถนน ไฟฟ้า ประปา การระบายน้ำ เป็นต้น โดยให้สอดคล้องกับผังเมืองรวมที่กำหนดไว้
               2. พัฒนาแหล่งน้ำคูคลองและระบบชลประทาน เพื่อการอุปโภค-บริโภค การเกษตร และอื่นๆ
               3. พัฒนาการบริหารจัดการ และการวางแผนพัฒนาในองค์กร เช่น ปรับปรุง/พัฒนาการจัดเก็บรายได้ การสนับสนุนการปฏิบัติงานปรับปรุง/พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เครื่องมือเครื่องใช้อาคารสถานที่ และอื่นๆ
               4. ส่งเสริมธรรมาภิบาล การป้องกันและปราบปรามการทุจรติ และประพฤติมิชอบในการปฏิบัติราชการ
               5. ส่งเสริมอาชีพ สร้างรายได้ การพาณิชย์ และการท่องเที่ยวในท้องถิ่น
               6. พัฒนา ส่งเสริมระบบการศึกษาให้มีประสิทธิภาพ พร้อมรองรับการเปลี่ยนแปลง
               7. พัฒนา ส่งเสริมคุณภาพชีวิตให้กับประชาชน กลุ่ม องค์กรในชุมชน ตามแนวทางพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง
               8. ส่งเสริม สนับสนุนงานสวัสดิการสังคม และงานสังคมสงเคราะห์
               9. ส่งเสริม สนับสนุนกีฬา และนันทนาการ                        
             10. ส่งเสริม สนับสนุน งานสาธารณสุข
             11. พัฒนาสร้างเสริมประชาธิปไตย และการมีส่วนร่วมของประชาชน
             12. เสริมสร้างความเข้มแข็งของครอบครัวและชุมชน
             13. การเฝ้าระวัง แก้ไข ป้องกัน ปัญหายาเสพติด
             14. ส่งเสริม สนับสนุนการดำเนินงานการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
             15. ส่งเสริมการจัดงานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและงานรัฐพิธี
             16. สนับสนุน จัดตั้งภูมิปัญญาท้องถิ่น
             17. ส่งเสริม สนับสนุนการเผยแพร่ และการปฏิบัติด้านคุณธรรม จริยธรรม ศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น
             18. พัฒนา ส่งเสริม สนับสนุน ดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและ   สิ่งแวดล้อม รวมทั้ง มลภาวะ
             19. การดูแลรักษา พัฒนาที่สาธารณะ
             20. บำรุงรักษาแม่น้ำลำคลอง แหล่งน้ำต่างๆ และการป้องกันน้ำเน่าเสีย
    7 จุดยืนทางยุทธศาสตร์
               1)  พัฒนาชุมชนให้น่าอยู่มีความปลอดภัย โดยได้รับบริการสาธารณะด้านโครงสร้างพื้นฐาน              ที่จำเป็นเพื่อความสะดวก รวดเร็ว และรองรับการขยายตัวของชุมชนและเศรษฐกิจ
               2)  องค์การบริหารส่วนตำบลหนองปากโลง มีการบริหารจัดการภาครัฐที่ดี และมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน
               3)  พัฒนาระบบการศึกษา ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมสำคัญทางศาสนา อนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นให้คงอยู่สืบไป
               4)  ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพคนและความเข้มแข็งของหมู่บ้านในการพึ่งตนเองตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
               5)  กำจัดขยะมูลฝอยสิ่งปฏิกูลและมลภาวะสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นอย่างมีระบบ และมีความยั่งยืน
    8 แผนงาน
         1. แผนงานบริหารงานทั่วไป                    6. แผนงานเคหะและชุมชน
         2. แผนงานการรักษาความสงบภายใน          7. แผนงานสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
         3. แผนงานการศึกษา                            8. แผนงานการศาสนาและวัฒนธรรม และนันทนาการ
         4. แผนงานสาธารณสุข                         9. แผนงานการเกษตร
         5. แผนงานสังคมสงเคราะห์                   10. แผนงานการพาณิชย์
                                                           11. แผนงานงบกลาง

    นโยบาย
     1.  นโยบายการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
          1.1 จัดหาบริการพื้นฐานที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต และความเป็นอยู่ของประชาชน เช่น ถนน ไฟฟ้า
              ประปา โทรศัพท์ เป็นต้น โดยให้สอดคล้องกับผังเมืองรวมที่กำหนดไว้
          1.2 พัฒนา ปรับปรุง บำรุงรักษาระบบการบริการด้านสาธารณูปโภค และโครงสร้างพื้นฐาน เช่น
              ถนน ท่อระบายน้ำ ขยายเขตระบบน้ำประปา และขยายเขตไฟฟ้าสาธารณะ
          1.3 พัฒนาและแก้ไขปัญหาแหล่งน้ำ  ลำคลองตื้นเขิน
     2.  นโยบายด้านการศึกษา
          2.1 ส่งเสริม สนับสนุนการศึกษาของโรงเรียนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองปากโลง
          2.2 ส่งเสริม พัฒนาการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหนองปากโลง และจัดตั้งศูนย์พัฒนาเด็ก
              ให้เพียงพอกับความต้องการ
          2.3 ส่งเสริมและสนับสนุนการให้ความรู้แก่ประชาชนผ่านสื่อต่างๆ ขององค์การบริหารส่วนตำบล
              เพื่อให้ประชาชนได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารต่างๆ รวมถึงการพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลหนอง-
              ปากโลง ให้เป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้
     3.  นโยบายด้านเศรษฐกิจ
          3.1 จัดการฝึกอบรมอาชีพให้กับผู้สนใจทุกกลุ่มอาชีพ
          3.2 ส่งเสริม สนับสนุนกลุ่มอาชีพสตรี ให้มีความรู้ ความชำนาญเพิ่มขึ้น และศึกษาดูงานที่ประสบผลสำเร็จจากหน่วยงานอื่น ๆ
          3.3 พัฒนา ส่งเสริม สนับสนุนอาชีพทางการเกษตร และแก้ไขปัญหาการประกอบอาชีพของ
              ประชาชน สร้างโอกาสและส่งเสริมอาชีพกลุ่มเกษตร กลุ่มแม่บ้าน เพื่อให้มีส่วนร่วมในการพัฒนา
              เศรษฐกิจ สังคม และชุมชน โดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
     4.  นโยบายด้านศาสนา
          4.1 ส่งเสริม สนับสนุนกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับศาสนศึกษา การปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนา และ
              ทำนุบำรุงศาสนสถาน
     5.  นโยบายด้านวัฒนธรรม
          5.1 สนับสนุนและส่งเสริม การสืบสานวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณีและภูมิปัญญาท้องถิ่น
          5.2 สนับสนุนให้มีการจัดงานในวันสำคัญและเทศกาลต่างๆ
     6.  นโยบายด้านสาธารณสุข
          6.1 ส่งเสริมการดำเนินกิจกรรมด้านสุขภาพอนามัยของประชาชน และการบริการสาธารณสุข
              ขั้นพื้นฐาน โดยผ่านอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) และส่งเสริมการพัฒนาฝึกอบรมให้แก่ อสม.
              ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองปากโลง
          6.2 สนับสนุนการควบคุมป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อที่เป็นอันตราย
              โดยจัดบริการหน่วยแพทย์เคลื่อนที่
          6.3 พัฒนาและอบรมผู้ประกอบการ ร้านค้า ร้านอาหารในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล
              หนองปากโลง
     7.  นโยบายด้านสิ่งแวดล้อม
          7.1 รณรงค์ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาสภาพแวดล้อมในหมู่บ้านของตนเอง ขับเคลื่อน
              การจัดทำโครงการและการดำเนินงานต่างๆ ที่มุ่งไปสู่การลดภาวะโลกร้อน
          7.2 สร้างจิตสำนึกในการรักษาความสะอาดให้กับประชาชน
          7.3 ส่งเสริมการพัฒนาภูมิทัศน์ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลหนองปากโลง
          7.4 บริหารจัดการเกี่ยวกับปัญหาน้ำเสีย การกำจัดขยะมูลฝอย เพื่อพัฒนาสิ่งแวดล้อม
8.  นโยบายด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตและกีฬา
          8.1 ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมทางด้านการป้องกันบรรเทาสาธารณภัยให้แก่ผู้ประกอบการ
              หน่วยงานต่างๆ และความปลอดภัยในหมู่บ้าน
          8.2 จัดสรรสวัสดิการและจัดฝึกอบรม ศึกษาดูงาน พัฒนาส่งเสริมกิจกรรม ของอาสาสมัครป้องกันภัย
              ฝ่ายพลเรือน (อปพร.) เพื่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
          8.3 จัดสรรงบประมาณในการสงเคราะห์เด็ก ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยเอดส์ และผู้ด้อยโอกาสให้
              เพียงพอ
          8.4 ส่งเสริมให้มีการออกกำลังกายและการแข่งขันกีฬาทั้งในเขตพื้นที่และนอกเขตพื้นที่องค์การ-บริหารส่วนตำบลหนองปากโลง
     9.  นโยบายด้านการบริหารงานและการบริการประชาชน
          9.1 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการทำงานร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลจัดประชุม
              ประชาคมเพื่อให้ประชาชนได้แสดงความคิดเห็น หรือแจ้งปัญหาความเดือดร้อนที่เกิดขึ้นใน
              หมู่บ้าน
          9.2 พัฒนา และปรับปรุงระบบการบริหารงาน และระบบการบริการเพื่อให้ประชาชนมีความพึงพอใจ
              สูงสุด
          9.3 ส่งเสริม และสนับสนุนการฝึกอบรม และจัดศึกษาดูงานให้แก่สมาชิกสภาฯ คณะผู้บริหาร
              ข้าราชการ พนักงานขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองปากโลง เพื่อเพิ่มพูนความรู้
              ความสามารถและศักยภาพในการปฏิบัติงาน
          9.4 จัดสร้างอาคารสำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลหนองปากโลง ให้เหมาะสมในการปฏิบัติ
              หน้าที่ของข้าราชการ พนักงาน และเพียงพอต่อการให้บริการประชาชน
     10.  นโยบายด้านสวัสดิการแก่ข้าราชการ พนักงาน และเจ้าหน้าที่
       10.1  บริหารงาน และปกครองบังคับบัญชา ข้าราชการ พนักงาน และเจ้าหน้าที่ ด้วยความเสมอภาค
              เป็นธรรม และปฏิบัติตามระเบียบวินัย และสร้างขวัญกำลังใจแก่ผู้มีความประพฤติดี
       10.2  พัฒนาเครื่องมือเครื่องใช้ในการปฏิบัติงานให้ทันสมัยและเกิดประสิทธิภาพ โดยนำระบบ
              เทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในการปฏิบัติงาน
       10.3  ส่งเสริม และจัดหาสวัสดิการให้แก่ข้าราชการ พนักงานและเจ้าหน้าที่ เช่น ด้านที่อยู่อาศัย ฯลฯ
              ระเบียบกำหนดให้

การวิเคราะห์เพื่อพัฒนาท้องถิ่น
    1 การวิเคราะห์กรอบการจัดทำยุทธศาสตร์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
              ในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นสี่ปี (พ.ศ. 2561-2564) ขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองปากโลง ใช้การวิเคราะห์ SWOT Analysis / Demand  (Demand Analysis) / (Global Demand และ Trend ปัจจัยและสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่อการพัฒนาอย่างน้อยต้องประกอบด้วย การวิเคราะห์ศักยภาพด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม)
           ปัจจัยภายใน 
              จุดแข็ง  (Strength = S)
              1.  ทรัพยากรธรรมชาติในตำบลหนองปากโลงอุดมสมบูรณ์ ทั้งผิวดิน แหล่งน้ำ มีคลอง
                   ชลประทาน และคลองธรรมชาติไหลผ่าน
              2.  การแบ่งส่วนราชการอย่างชัดเจน และเหมาะสม
              3.  พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เกษตรกรรม
              4.  มีผู้บริหารและบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ
              5.  มีหอกระจายข่าวประจำหมู่บ้าน ทุกหมู่บ้าน
              6.  อยู่ในเขตตัวเมือง การคมนาคมสะดวก
              7.  ประชาชนมีความสนิทสนมเป็นเครือญาติเดียวกัน
              8.  มีโรงเรียนระดับประถมศึกษา 3 โรงเรียน และมีศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 1 แห่ง
              จุดอ่อน  (Weakness = W) 
              1.  บริการด้านโครงสร้างพื้นฐานไม่ทั่วถึง
              2.  การบริหารจัดการน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค ยังไม่เพียงพอ
              3.  มีประชากรแฝงที่อพยพเข้ามาทำงานในเขตพื้นที่เพิ่มมากขึ้น
              4.  ขาดการฝึกอบรมอาชีพเสริมอย่างต่อเนื่อง
              5.  การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาตำบลมีน้อย
              6.  งบประมาณมีจำนวนจำกัด และขาดการสนับสนุนงบประมาณ ในการดำเนินโครงการ
                   ขนาดใหญ่
              7.  ปัญหาสิ่งแวดล้อม และมลภาวะจากชุมชนเพิ่มมากขึ้น เช่น กลิ่นมูลสุกร น้ำเสีย ขยะมูลฝอย
                   กลิ่นเหม็นจากโรงงานอุตสาหกรรม
              8.  บุคลากรหรือเจ้าหน้าที่บางส่วนยังขาดความรู้ ความเข้าใจในการปฏิบัติงานในหน้าที่ของตน 
                   รวมทั้ง ระเบียบ ข้อบังคับ กฎหมาย
              โอกาส  (Opportunity = O) 
              1.  การนำระบบสารสนเทศ มาใช้ในการจัดเก็บรายได้ให้ครอบคลุมพื้นที่
              2.  มีการให้ความร่วมมือระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 
              3.   เป็นจังหวัดในเขตปริมณฑล
              4.  รัฐบาลสนับสนุนนโยบายกระจายอำนาจให้แก่ท้องถิ่น
              5.  พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วน-
                   ท้องถิ่น พ.ศ. 2542 กำหนดให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอำนาจหน้าที่ในการจัดระบบ
                   บริการสาธารณะ เพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่น โดยที่หน่วยงานราชการส่วนกลาง
                   และส่วนภูมิภาคส่งเสริม และสนับสนุนการถ่ายโอนภารกิจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
              6.  การพัฒนาเส้นทางการคมนาคมให้สะดวกรวดเร็ว และปลอดภัยมากขึ้น
              7.   รัฐบาลสนับสนุนให้แต่ละท้องถิ่นมีบทบาทในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู เผยแพร่ และถ่ายทอด
                   วัฒนธรรม ประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่นมากขึ้น
              อุปสรรค  (Threat = T)
              1.   การมีส่วนร่วมระหว่างประชาชน ภาคเอกชน และภาครัฐ  ในการพัฒนาท้องถิ่น 
                   การระดมความคิดเห็นในการจัดทำแผนต่างๆ มีน้อย
              2.   การบริหารจัดการระบบการผลิตน้ำประปาไม่ได้คุณภาพ
              3.  แรงงานต่างด้าวก่อให้เกิดปัญหาสังคมในพื้นที่  ส่งผลให้เกิดปัญหาโรคติดต่อต่างๆ ปัญหา
                  ด้านสังคมต่างๆ เพิ่มขึ้น
              4.   ขาดแคลนแรงงานฝีมือเฉพาะด้าน
              5.   ความทันสมัยและกระแสวัฒนธรรมต่างชาติ  ทำให้ประชาชนในท้องถิ่นลืมรากฐานทาง
                   วัฒนธรรมที่มีอยู่  และหันไปนิยมวัฒนธรรมการบริโภคมากขึ้น
              6.  มีปัญหาสุขภาพ ปัญหายาเสพติด ปัญหาอาชญากรรม เพิ่มขึ้น
              7.  ขาดการสนับสนุนงบประมาณจากส่วนกลางในการพัฒนาท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง
              8.   เทคโนโลยีสมัยใหม่ มีราคาสูง แ­ละมีข้อจำกัดในการจัดซื้อ เนื่องจากมีระเบียบ กฎหมาย
                     ควบคุมมากขึ้น
              9.   ระเบียบ กฎหมาย ข้อบังคับ มีการแก้ไข ปรับปรุง บ่อยครั้ง ทำให้บุคลากรหรือเจ้าหน้าที่
                    บางส่วนยังขาดความรู้ ความเข้าใจ และขาดการศึกษาให้ท่องแท้   
             10.  เกิดการแข่งขันด้านอาชีพ เนื่องจากพื้นที่อื่นมีการประกอบอาชีพประเภทเดียวกัน
    2 การประเมินสถานการณ์สภาพแวดล้อมภายนอกที่เกี่ยวข้อง
          ในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นสี่ปีขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองปากโลงนั้น ได้ทำการประเมินสถานการณ์สภาพแวดล้อมภายนอกที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ 
           1.  ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการ โครงสร้างพื้นฐาน
และบริการสาธารณะ
               1.1 ประชาชนต้องการเส้นทางในการสัญจรไปมาเพิ่มมากขึ้น               
               1.2 ไฟฟ้าส่องสว่างทางและที่สาธารณะยังไม่สามารถดำเนินการครอบคลุมพื้นที่ได้ทั้งหมด
               1.3 รางระบายน้ำยังไม่เพียงพอ เกิดการอุดตันทำให้มีน้ำขังเป็นบางจุด
           2. ยุทธศาสตร์การพัฒนาการวางแผนบริหารจัดการองค์กร ตลอดจนส่งเสริมอาชีพ การพาณิชย์ และการท่องเที่ยวในท้องถิ่น
               2.1 ขาดแคลนบุคลากรในการปฏิบัติงานตามตำแหน่ง
               2.2 ขาดอุปกรณ์เครื่องมือ เครื่องใช้ในการปฏิบัติงาน
               2.3 ประชาชนไม่ค่อยให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น
               2.4 ประชาชนไม่สามารถรวมกลุ่มกันเพื่อดำเนินการด้านเศรษฐกิจของชุมชนในรูปของกลุ่มอาชีพอย่างเข้มแข็ง และขาดแหล่งเงินลงทุนในการทำกิจการและประกอบอาชีพ
           3. ยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษา ส่งเสริมคุณภาพชีวิต และคุณค่าทางสังคม
               3.1 การศึกษา สื่อการเรียนการสอนยังไม่พอเพียง เด็กนักเรียนไม่ได้รับการศึกษาต่อในระดับที่สูงกว่าขั้นพื้นฐาน และขาดงบประมาณในการศึกษา ครอบครัวยากจน
               3.2 เยาวชนและวัยรุ่นติดเกมส์ บุหรี่ เหล้า ยาเสพติด และท้องก่อนวัยอันสมควร 
               3.3 ประชาชนไม่ค่อยให้ความสำคัญกับการออกกำลังกายและการดูแลสุขภาพของตัวเอง
           4. ยุทธศาสตร์การพัฒนาการจัดระเบียบชุมชน สังคม และการรักษาความสงบเรียบร้อย
               4.1 การจราจรบนถนนมีเพิ่มมากขึ้นอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นได้
               4.2 เกิดสาธารณภัยขึ้นบ่อยครั้ง ทำให้ทรัพย์สินของประชาชนได้รับความเสียหาย
           5. การพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ศิลปวัฒนธรรม จารีตประเพณี และภูมิปัญญาท้องถิ่น
               5.1 ศิลปะ วัฒนธรรม จารีต ประเพณีถูกสังคมสมัยใหม่ค่อยๆ เปลี่ยนแปลงไปและไม่ค่อยมี      ผู้สืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น
           6. การพัฒนาบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
               6.1 ปัญหาเรื่องการบริหารจัดการขยะในชุมชน
               6.2 ประชาชนขาดจิตสำนึกในการการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม

 

จัดการ การอนุญาตใช้งาน Cookies

เว็บไซต์ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองปากโลง อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม (http://www.nongpaklong.org) มีการใช้งานเทคโนโลยีคุกกี้ หรือ เทคโนโลยีอื่นที่มีลักษณะใกล้เคียงกันกับคุกกี้ บนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษา นโยบายการใช้คุกกี้ และ นโยบายความเป็นส่วนตัวของข้อมูล ก่อนใช้บริการเว็บไซต์ ได้ที่ลิงค์ด้านล่าง